top of page

         ภาษีป้าย

 

         ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการ ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้าย

ระยะเวลาการชำระภาษี คือ มกราคม - มีนาคม ของทุกปี

การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย

         1. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ งานผลประโยชน์ ส่วน พัฒนารายได้ สำนักการคลังเทศบาล ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปี และต้องชำระภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

         2. ผู้ใดติดตั้งป้ายอันต้องเสียภาษีหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพอันเป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในวันที่ 15 นับแต่วันที่ติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข

บทกำหนดโทษ

         1. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีก เลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 50,000 บาท

         3. ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย

         4. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินภาษีป้ายลดน้อยลง ให้ เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม

        ภาษีป้ายเป็นภาษีที่จัดเก็บจาก ป้าย อันหมายถึง ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดง หรือ โฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยตา อักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือ ทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น ๆ

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย

        การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่น แบบ ภ.ป.1 ภายในเดือน มีนาคม ของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่จะต้องยื่นแบบ แบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่

การชำระเงินค่าภาษีป้าย

        ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องชำระค่าภาษีป้ายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้แจ้งการประเมินหรือจะชำระค่าภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้ อัตราค่าภาษีป้าย

        ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

        ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

        ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง

        ก ) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่

        ข ) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศให้คิดในอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

        เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายคนละ 200 บาท

 

 

การขออนุญาตก่อสร้างป้ายโฆษณา

 

1.ป้ายโฆษณาที่มีขนาดเกิน ๑ ตารางเมตร หรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม ติดตั้งไว้อย่างถาวร มีลักษณะเป็นอาคาร จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร หากเขตพื้นที่เทศบาลที่ต้องการก่อสร้างป้ายโฆษณา เป็นเขตควบคุมอาคารหรือให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ท่านก็ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ดังกล่าว ตามมาตรา 21 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยเอกสาร
หลักฐานที่ยื่นขออนุญาตเป็นไปตามรายละเอียดของแบบ ข.1 ทั้งนี้ท่านต้องพิจารณากฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบที่บังคับใช้ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย 
2.สำหรับเกณฑ์กำหนดการติดตั้งป้าย เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ข้อ 7-13 ดังต่อไปนี้

"ข้อ 7. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่อาคารต้องไม่บังช่องระบายอากาศ หน้าต่าง ประตู หรือทางหนีไฟ 

ข้อ 8. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร ต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายต้องสูงไม่เกิน 6 เมตร จากส่วนสูงสุดของหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น

ข้อ 9. ป้ายที่ยื่นจากผนังอาคารให้ยื่นได้ไม่เกินแนวกันสาด และให้สูงได้ไม่เกิน 60 เซนติเมตร หรือมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 2 ตารางเมตร

ข้อ 10. ป้ายที่ติดตั้งเหนือกันสาดและไม่ได้ยื่นจากผนังอาคาร ให้ติดตั้งได้โดยมีความสูงของป้ายไม่เกิน 60 เซนติเมตร วัดจากขอบบนของปลายกันสาดนั้น หรือมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 2 ตารางเมตร

ข้อ 11. ป้ายที่ติดตั้งใต้กันสาดให้ติดตั้งแนบผนังอาคาร และต้องสูงจากพื้นทางเท้านั้นไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร


ข้อ 12. ป้ายโฆษณาสำหรับโรงมหรสพให้ติดตั้งขนานกับผนังอาคารโรงมหรสพ แต่จะยื่นห่างจากผนังได้ไม่เกิน 50 เซนติเมตร หรือหากติดตั้งป้ายบนกันสาดจะต้องไม่ยื่นล้ำแนวปลายกันสาดนั้นและความสูงของป้ายทั้งสองกรณีต้องไม่เกินความสูงของอาคาร

ข้อ 13. ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่เกิน 32 เมตร "

3.สำหรับรายละเอียดของแบบ ข.1นั้น ท่านสามารถ down load ดูได้ที่ เวปไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง (www.dpt.go.th/)เมนูเอกสารติดต่อราชการ ส่วนเมนูย่อย
4.งานควบคุมอาคาร 

bottom of page